คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นพลังงานรูปหนึ่งที่ส่งผ่านจากดวงอาทิตย์โดยการแผ่รังสี พลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า ประกอบไปด้วย สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้า โดยที่ทิศทางของสนามไฟฟ้าและทิศทางของสนามแม่เหล็ก มีการเคลื่อนที่ของคลื่นตั้งฉากซึ่งกันและกัน (แบบฮาร์โมนิค (Hamonic) คือ มีช่วงซ้ำและจังหวะเท่ากันในเวลาหนึ่งและมีความเร็วเท่าแสง) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันดังนี้
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประกอบไปด้วยคลื่นที่มีความยาวช่วงคลื่นในหลากหลายช่วงคลื่น ตั้งแต่สั้นที่สุดไปจนถึงยาวที่สุด ซึ่งในแต่ละช่วงคลื่นจะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว ความยาวคลื่นและความถี่คลื่นมีความสัมพันธ์กันแบบผกผัน กล่าวคือ ถ้าความยาวคลื่นมาก ความถี่จะน้อย หรือความยาวคลื่นน้อย ความถี่จะมาก โดยทั่วไป หน่วยวัดความยาวคลื่นที่ใช้ในงานรีโมทเซนซิง มักใช้เป็น ไมโครเมตร
ตาราง แสดงประเภทของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ประเภทคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า | ความยาวช่วงคลื่น | ความถี่ | คุณสมบัติ |
1. รังสีแกมมา (gamma ray) | < 0.03 nm. | > 3,000 THz | ถูกดูดกลืนทั้งหมดโดยชั้นบรรยากาศชั้นบน จึงไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการสำรวจจากระยะไกล |
2. รังสีเอกซ์ (x-ray) | 0.03-3.0 nm. | > 3,000 THz | ถูกดูดกลืนทั้งหมดโดยชั้นบรรยากาศชั้นบนเช่นกัน จึงไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการสำรวจจากระยะไกล |
3. รังสีอัลตราไวโอเลต (ultraviolet) | 0.03-0.4 mm | 750-3,000 THz | ช่วงคลื่นสั้นกว่า 0.3 mm ถูกดูดซึมทั้งหมดโดยโอโซน (O3) ในบรรยากาศชั้นบน |
4. คลื่นอัลตราไวโอเลตที่ใช้ในการถ่ายภาพ
| 0.03-0.4 mm | 750-3,000 THz | ช่วงคลื่นนี้สามารถผ่านชั้นบรรยากาศได้ สามารถถ่ายภาพด้วยฟิล์มถ่ายรูป แต่มีการกระจายในชั้นบรรยากาศเป็นอุปสรรค |
5. คลื่นตามองเห็น (visible) | 0.4-0.7 mm | 430-750 THz | เป็นช่วงคลื่นที่บันทึกด้วยฟิล์มถ่ายภาพและอุปกรณ์บันทึกภาพได้ดี โดยเป็นช่วงคลื่นที่ดวงอาทิตย์มีการสะท้อนพลังงานสูงสุด (reflected energy peak ที่ 0.5 mm) ช่วงคลื่นนี้แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มที่ตอบสนองต่อสายตามนุษย์ คือ |
ประเภทคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า | ความยาวช่วงคลื่น | ความถี่ | คุณสมบัติ |
| | | 0.4-0.5 mm. ช่วงคลื่นสีน้ำเงิน
|
6. คลื่นอินฟราเรด (infrared)
| | | ช่วงคลื่นระหว่าง 0.7-0.9 mm สามารถถ่ายภาพด้วยฟิล์มพิเศษ เรียกว่า photographic infrared film และเป็นช่วงที่โลกสะท้อนพลังงานสูงสุดที่ 9.7 mm |
6.1 อินฟราเรดใกล้ (near infrared) | 0.7-1.3 mm | 230-430 THz | มีประโยชน์ต่อการศึกษาด้านพืชพรรณ การแยกแยะดินกับน้ำ |
6.2 อินฟราเรดคลื่นสั้น
| 1.3-3.0 mm | 100-230 THz | มีประโยชน์ต่อการศึกษาด้านการใช้ที่ดินแร่ธาตุ |
6.3 อินฟราเรดคลื่นกลาง
| 3.0-8.0 mm | 38-100 THz | มีประโยชน์ด้านการแยกแยะแร่ธาตุวัตถุสะท้อนแสงสูง |
6.4 อินฟราเรดความร้อน
| 8.0-14.0 mm | 22-38 THz | ใช้ศึกษาโรคพืชเนื่องจากความร้อน ความแตกต่างของความร้อนในพื้นที่ศึกษา ความแตกต่างของความชื้นของดิน |
6.5 อินฟราเรดไกล (far infrared) | 14.0 mm – 1 mm. | 0.3-22 THz | ไม่ปรากฏการประยุกต์ใช้เพราะคลื่นนี้จะถูกชั้นบรรยากาศดูดกลืนจนเกือบทั้งหมด |
7. คลื่นไมโครเวฟ (microwave)
| 0.1-30.0 cm. | | เป็นช่วงคลื่นยาวที่สามารถทะลุผ่านหมอก เมฆ และฝนได้ สามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งระบบพาสซีฟและแอคทีฟ |
7.1 ช่วงคลื่นขนาดมิลลิเมตร | 1.0-10.0 mm. | 30-300 GHz | |
7.2 ช่วงคลื่นขนาดเซนติเมตร | 1.0-10.0 mm. | 3-30 GHz | |
7.3 ช่วงคลื่นขนาดเดซิเมตร | 0.1-1.0 dm. | 0.3-3 GHz | |
8. คลื่นเรดาร์ (radar)
| 0.1-30.0 cm. | 30-300 MHz | เป็นระบบแอคทีฟ ที่สามารถทะลุผ่านหมอก เมฆ และฝนได้ |
8.1 Ka band | 10 mm. | | |
8.2 X band | 30 mm. | | |
8.3 L band | 25 cm. | | |
9. คลื่นวิทยุ (radio) | 1 m. – 100 km. | 3 KHz–300 MHz | เป็นช่วงคลื่นที่ยาวที่สุด บางครั้งมีเรดาร์อยู่ในช่วงนี้ด้วย |
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพ
http://www.gis2me.com/th/?p=784
ศุทธินี ดนตรี, ความรู้พื้นฐานด้านการสำรวจจากระยะไกล (Remote Sensing), 2544, หน้า 3-7 ถึง 3-8
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น