
เราสามารถจำแนกวัตถุต่าง ๆ ออกจากกันได้เนื่องจากความแตกต่างกันของลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งปกคลุมผิวโลกกับพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าใน 3 ลักษณะ คือ ในการสะท้อน การดูดกลืน และการส่งผ่านพลังงาน
การสะท้อน (Reflection)

ปัจจัยที่มีผลต่อรูปแบบการสะท้อนขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นผิว มุมตกกระทบ ความยาวคลื่นที่ตกกระทบ มุมโพราไรเซชั่น รวมทั้งความสามารถและอัตราการสะท้อนแสงผิว ซึ่งเกิดการสะท้อนใน 3 ลักษณะ
1) การสะท้อนกลับหมด เกิดจากพื้นผิวของวัตถุที่มีลักษณะราบเรียบมาก มุมตกเท่ากับมุมกระทบ การสะท้อนมีลักษณะไปในทิศทางเดียวกันหมด ถือเป็นรูปแบบเชิงทฤษฎี
2) การสะท้อนแบบกระจาย –เกิดจากพื้นผิวที่มีความขรุขระมักเกิดในช่วงคลื่นแสงสว่าง เป็นการสะท้อนแบบกระจัดกระจายไปทุกทิศทุกทางอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นรูปแบบเชิงทฤษฎีเช่นกัน
3) การสะท้อนแบบผสมผสาน เป็นการสะท้อนในความเป็นจริง ที่มักจะใกล้เคียงแบบใดแบบหนึ่งแต่ก็ยังมีการผสมผสานกันอยู่
การดูดกลืนหรือดูดซับ (Absorption)
ปริมาณการดูดกลืนขึ้นอยู่กับคุณสมบัติพื้นผิวตามความยาวช่วงคลื่น พลังงานที่ถูกวัตถุดูดกลืนไปจะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปความร้อน จึงทำให้วัตถุมีอุณหภูมิสูงขึ้นและเป็นต้นกำเนิดพลังงาน สามารถแผ่พลังงาน (emittion) ในช่วงคลื่นอินฟราเรดหรือ อินฟาเรดความร้อน ซึ่งตรวจวัดได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นประโยชน์ต่องานรีโมทเซนซิง
การส่งผ่าน (Transmission)
เมื่อพลังงานส่วนที่ไม่เกิดการสะท้อนจะถูกดูดกลืนและส่งผ่านสู่ชั้นที่ลึกลงไป
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพ
http://www.gis2me.com/th/?p=826
http://www.slri.or.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=42&Itemid=88
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น